×
หน้าหลัก » ข่าวประชาสัมพันธ์ » สอวช. นำเสนอการดำเนินงานส่งเสริมการบริโภคที่ยั่งยืน ในงานประชุมวิชาการประจำปี 2566 Thai SCP ในหัวข้อ “การส่งเสริมการบริโภคที่ยั่งยืน เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ”

สอวช. นำเสนอการดำเนินงานส่งเสริมการบริโภคที่ยั่งยืน ในงานประชุมวิชาการประจำปี 2566 Thai SCP ในหัวข้อ “การส่งเสริมการบริโภคที่ยั่งยืน เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ”

วันที่เผยแพร่ 5 ธันวาคม 2023 253 Views

ดร.ศรวณีย์ สิงห์ทอง ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เป็นผู้แทน สอวช. เข้าร่วมเป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนความเห็นในงาน “การประชุมวิชาการประจำปี 2566” เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 จัดโดยเครือข่ายส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนแห่งประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ภายใต้หัวข้อ “การส่งเสริมการบริโภคที่ยั่งยืน เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ” โดยได้รับเกียรติจาก ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) ในฐานะประธานเครือข่าย Thai SCP และนายกสมาคม SCP (Thailand) เป็นประธานเปิดงาน ร่วมกับ นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”

ภายในงานมีการปาฐกถาพิเศษ จาก ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงรับฟังการบรรยายที่จะเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในหัวข้อ “โอกาสของภาคธุรกิจที่ตอบโจทย์กระแสการบริโภคที่ยั่งยืน” และ การส่งเสริมผู้บริโภคที่ยั่งยืน เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ นอกจากนี้ภายในงานยังได้มีการเปิดเวทีเสวนาห้องย่อยที่จะให้ความรู้ในการไปสู่เป้าหมายที่ยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจในหัวข้อ “ทำอย่างไร? เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการบริโภคที่ยั่งยืน”  จากผู้เชี่ยวชาญในภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรและอาหาร และภาคการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์

ในการนี้ ดร.ศรวณีย์ สิงห์ทอง กล่าวถึงบทบาทในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงการดำเนินงานของ สอวช. ที่เข้ามาช่วยส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืน ได้แก่ Green Campus ที่ดำเนินการร่วมกับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ด้วยการใช้แพลตฟอร์มเครือข่ายมหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อนด้าน Climate Innovation และ Data Based Platform เพื่อรวบรวมกิจกรรมพร้อมกับคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น และการพัฒนาโครงการนวัตกรรมนำร่องอาทิ Solar Rooftop/Smart Energy System ในมหาวิทยาลัย การพัฒนาพื้นที่นำร่องแบบบูรณาการหลายสาขาและภาคส่วนเพื่อใช้นวัตกรรมและดึงกลไกนานาชาติเข้ามาสนับสนุน เพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านประเทศและลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศจากนโยบายและมาตรการต่างๆ ในสิ่งที่ทาง สอวช. ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้วคือ โครงการพัฒนาผู้ประกอบการ BCG 1,000 ราย 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ พร้อมเครื่องมือสนับสนุนผู้ประกอบการ BCG สำหรับผู้ประกอบการและนักพัฒนา โดยดำเนินการร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ซึ่งการทำงานนี้พยายามเชื่อมต่อมาตรการความช่วยเหลือและมาตรการทางการเงินสนับสนุนผู้ประกอบการสีเขียวมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ได้กล่าวถึงช่องว่าง/ปัญหาที่ต้องแก้ไขและโอกาสใหม่ของ Circular Economy ในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นหลักแนวคิดที่สนับสนุนการบริโภคที่ยั่งยืนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศ

เรื่องล่าสุด