×

Ethics of S&T


หน้าหลัก » Ethics of S&T

โครงการส่งเสริมจริยธรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2561 – ปัจจุบัน

หลักการและเหตุผล

1. ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยจริยธรรมในการใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 4 เมื่อระหว่างวันที่ 23-24 มีนาคม 2548
ณ โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ ปาร์ค โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน
ทรงเป็นองค์ประธานเปิดการประชุมดังกล่าว ซึ่งประเทศไทยได้รับประโยชน์จากการจัดงานในด้านการรับรู้ภาพรวมของปัญหา ความเจริญก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ควบคู่ไปกับหลักการทางจริยธรรมในหลายประเด็น อาทิ การวิจัย สิทธิบัตรยา ภูมิปัญญาและการโคลนนิ่ง เป็นต้น

ต่อมา ในปี 2562 ประเทศไทย โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและกระทรวงศึกษาธิการได้รับโอกาสจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือองค์การยูเนสโก ในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยชีวจริยธรรม ครั้งที่ 26 (The 26th Session of the International Bioethics Committee of UNESCO: IBC -26) การประชุมคณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยจริยธรรมในความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 11 (The 11th Session of the World Commission on Ethics of Scientific Knowledge and Technology:  COMEST -11) และการประชุมนานาชาติว่าด้วยการส่งเสริมจริยธรรมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพัฒนาที่ยั่งยืน (Conference on the Ethics of Science & Technology and Sustainable Development) ระหว่างวันที่ 2 – 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพฯ ประเทศไทย โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 เห็นชอบให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและกระทรวงศึกษาธิการเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดประชุม การประชุมดังกล่าวเป็นเวทีระดับโลกที่ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนความคิดและข้อมูลในเชิงจริยธรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างประเทศไทยกับนานาชาติ ตลอดจนยังเป็นการสร้างความตระหนักรู้แก่สาธารณชนเกี่ยวกับด้านจริยธรรม การสร้างเครือข่ายและเสริมสร้างการดำเนินการภายใต้โครงการด้านจริยธรรมขององค์การยูเนสโก ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความสำคัญและได้รับความสนใจในปัจจุบัน ในการนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและกระทรวงศึกษาธิการ ในนามเจ้าภาพการประชุม ได้ขอพระราชทานกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (พระอิสริยยศในขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดการประชุมฯ ทั้งนี้ สวทน. / สอวช. ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพร่วมกับ สป. ในนามของ อว. โดย สวทน./สอวช. ได้ดำเนินงานด้านวิชาการทั้งหมดเพื่อสนับสนุนการประชุมดังกล่าว

2. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) มีความเห็นว่า นวัตกรรมมีการพลิกโฉมและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาจนกระทั่งเริ่มเห็นปรากฎการณ์และอาการที่ตั้งรับไม่ทัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องประเด็นจริยธรรม (Ethical) กฎหมาย (Legal) และ ผลกระทบทางสังคม (Social Implications) หรือที่เรียกว่า ELSI ทั้ง 3 เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ หากไม่สามารถมีฐานที่ดีแล้ว จะทำให้เกิด Disruption ตามมา 2 อย่าง คือ 1. ภาวะคุกคามต่อสังคม 2. การสูญเสียโอกาสในการสร้างมูลค่า (Create Value) สำหรับสังคม หากมี ELSI ที่ไม่พร้อมและไม่สามารถรองรับได้ ดังนั้น ประเด็นเรื่องการส่งเสริมจริยธรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับ ELSI แก่สาธารณชนจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก สวทน. ในฐานะหน่วยงานนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้เตรียมการในเชิงเนื้อหา แผน/นโยบาย รวมทั้งจัดตั้งกรรมการจริยธรรมระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะทำงานวิชาการส่งเสริมจริยธรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใน 5 กลุ่มเพื่อดำเนินการศึกษาประเด็นจริยธรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 5 ประเด็น ประกอบด้วย 1) เทคโนโลยียีนส์ เซลล์ และการปรับแต่งชีวิต 2) เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์และข้อมูลขนาดใหญ่ 3) เทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม 4) จริยธรรมการวิจัย และ 5) การสื่อสารนโยบายและการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการกำหนดนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อจัดเตรียมเนื้อหาเกี่ยวกับการประชุม โดยจะรวบรวมเนื้อหา ผลการศึกษาและข้อเสนอเชิงนโยบาย จัดทำในรูปแบบสมุดปกขาว เรื่อง “การส่งเสริมจริยธรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” และได้นำเสนอประเด็นในสมุดปกขาวต่อที่ประชุมคณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยชีวจริยธรรม ครั้งที่ 26 และการประชุมคณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยจริยธรรมในความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 11 ระหว่างวันที่ 2-7 กรกฎาคม 2562 อีกด้วย

การดำเนินโครงการ

  1. ขับเคลื่อนการทำงานระดับชาติกลไกการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมจริยธรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สอวช.ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการการประชุม (ตั้งแต่ธันวาคม 2561-ปัจจุบัน)
  2. จัดทำสมุดปกขาว จำนวน 5 เล่ม/ประเด็น ประกอบด้วย 1. เทคโนโลยียีนส์ เซลล์ และการปรับแต่งชีวิต 2) เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์และข้อมูลขนาดใหญ่ 3). เทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม 4. จริยธรรมการวิจัย และ 5. การสื่อสารนโยบายและการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการกำหนดนโย บายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
  3. จัดทำถ้อยแถลงกรุงเทพฯ (Bangkok Statement) ซึ่งบรรจุสาระสำคัญของสมุดปกขาว และความมุ่งมั่นของประเทศไทยที่มีต่อการส่งเสริมจริยธรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในบริบทโลก และนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ 26th IBC & 11th COMEST ของ UNESCO ในวันที่ 2-7 กรกฎาคม 2562
  4. ร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมจัดการประชุมคณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยชีว จริยธรรม ครั้งที่ 26 (The 26th Session of the International Bioethics Committee of UNESCO: IBC-26) การประชุมคณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยจริยธรรมในความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 11 (The 11th Session of the World Commission on Ethics of Scientific Knowledge and Technology: COMEST-11) ระหว่างวันที่ 2-7 กรกฎาคม 2562
  5. จัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยการส่งเสริมจริยธรรมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพัฒนาที่ยั่งยืน (The Conference on the Ethics of Science & Technology and Sustainable Development) ระหว่างวันที่ 5-6 กรกฎาคม 2562 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพฯ
  6. ร่วมจัด/สนับสนุน/อำนวยความสะดวกการจัดประชุมที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำเนื้อหาสมุดปกขาว 5 เรื่อง และที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมเนื้อหาสำหรับการประชุมนานาชาติเรื่องการส่งเสริมจริยธรรมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพัฒนาที่ยั่งยืน
  7. สร้างเครือข่ายผ่านการทำงานร่วมกันในประเด็นส่งเสริมจริยธรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่างรัฐบาล กระทรวงฯ ผู้กำหนดนโยบาย คณะทำงานวิชาการประเทศไทย กับนักวิชาการระดับโลก และองค์การยูเนสโก

ผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ

  1. บทบาทที่โดดเด่นและภาพลักษณ์ที่ดีของ สวทน. / สอวช. ในด้านการส่งเสริมจริยธรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับชาติ ภูมิภาคและโลก
  2. สมุดปกขาว/รายงานฉบับสมบูรณ์การส่งเสริมจริยธรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (5 เรื่อง)
  3. ถ้อยแถลงกรุงเทพฯ (Bangkok Statement) โดยบรรจุประเด็นสำคัญ/ข้อเสนอเชิงนโยบายข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับการส่งเสริมจริยธรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมุดปกขาว เพื่อนำเสนอประเด็นสำคัญดังกล่าวต่อที่ประชุมใหญ่ IBC-26 และ COMEST-11 ของ UNESCO ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2562 และเป็นเอกสารอ้างอิงระหว่างประเทศต่อไป
  4. สรุปผลการประชุมรูปแบบงานวิชาการ infographics และ presentations ต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากการทำงานภายใต้กลไกคณะกรรมการส่งเสริมจริยธรรมด้านวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยี และการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม IBC-26 / COMEST-11 / The Conference on the Ethics of Science & Technology and Sustainable Development ในวงการส่งเสริมจริยธรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสาธารณชนในวงกว้าง
  5. การประชุมนานาชาติว่าด้วยการส่งเสริมจริยธรรมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพัฒนาที่ยั่งยืน (The Conference on the Ethics of Science & Technology and Sustainable Development) ระหว่างวันที่ 5-6 กรกฎาคม 2562 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพฯ
  6. การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมจริยธรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และทำหน้าที่เลขานุการการประชุมฯ ระหว่างปี 2562 จำนวน 6 ครั้ง ได้แก่ ได้แก่ ครั้งที่ 1/2562 วันพุธที่ 23 มกราคม 2562 ณ ห้องประชุมหว้ากอ 2 สวทน. ครั้งที่ 2/2562 วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2562 ณ ห้องประชุมหว้ากอ 2 สวทน. ครั้งที่ 3/2562 วันอังคารที่ 14 พฤษภาคมณ ห้องประชุม OSOS 1 ศูนย์ประสานการบริการด้านการลงทุน (BOI) ชั้น 18 อาคารจัตุรัสจามจุรี ครั้งที่ 4/2562 วันอังคารที่ 11 มิถุนายน 2562 ณ ห้องประชุมหว้ากอ 2 สอวช. ครั้งที่ 5/256 วันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2562 ณ ห้องประชุมหว้ากอ 2 สวอช. และครั้งที่ 6/2562 วันพุธที่ 9 ตุลาคม 2562 ณ ห้องประชุมหว้ากอ 1 สอวช.
  7. การประชุมคณะทำงานวิชาการเพื่อเตรียมเนื้อหาจัดทำร่างพระราชดำรัสเปิดการประชุมและถ้อยแถลงกรุงเทพฯ การประชุมนานาชาติเรื่องการส่งเสริมจริยธรรมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพัฒนาที่ยั่งยืน (The Conference on the Ethics of Science & Technology and Sustainable Development) จำนวน 7 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 วันที่ 28 มกราคม ณ ห้องประชุมพรหมเทพ สวทน. ครั้งที่ 2 วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ห้องประชุมหว้ากอ 2 สวทน. ครั้งที่ 3 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ห้องประชุม War Room สวทน. ครั้งที่ 4 วันที่ 25 มีนาคม 2562 ณ ห้องประชุมหว้ากอ 1 สวทน. ครั้งที่ 5 วันที่ 2 พฤษภาคม 2562 ณ ห้องประชุมหว้ากอ 2 สอวช. และ ครั้งที่ 6 วันที่ 22 พฤษภาคม 2562 ณ ห้องประชุม OSOS 2 – BOI