เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์
เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เน้นการสร้างผลกระทบเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างเศรษฐกิจ BCG สร้างชุมชนนวัตกรรม ปรับเปลี่ยนเชิงสังคมด้วยนวัตกรรม และสร้างคนและสถาบันความรู้ โดยมุ่งส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ และปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจนวัตกรรมที่ยั่งยืน
ทิศทางและแนวทางการดำเนินงานในระยะถัดไป
สำนักงานให้ความสำคัญต่อ Future setting, จัดทำกรอบนโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, พัฒนา New Initiative & Policy Package, ออกแบบมาตรการ การปลดล็อค และ Sandbox, System Research & Mechanism Design, Unify Data System for Policy Formulation, budgeting & monitoring and evaluation และเป็นฝ่ายเลขานุการวิชาการของสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
7 ทิศทางการดำเนินงานของ สอวช.
- Future Setting
- จัดทำกรอบนโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.)
- พัฒนาข้อริเริ่มใหม่ และแพ็คเกจนโยบาย (New Initiative & Policy package) โดย สอวช. ริเริ่ม Policy Accelerator เป็นกลไกพัฒนานโยบายและข้อริเริ่มใหม่ (Policy Formulation) ทำให้นโยบายเกิดผล (Legitimization) และนำไปสู่การขับเคลื่อนได้อย่างรวดเร็ว
- ออกแบบมาตรการ การปลดล็อค และ Sandbox เพื่อให้มีกฎหมาย ระเบียบ มาตรการ กลไก และแนวปฏิบัติ ที่เอื้อต่อการดำเนินกิจกรรมวิจัยและสร้างนวัตกรรม (ease of doing innovation business) ที่ครอบคลุมและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบวิจัยและนวัตกรรม
- การวิจัยระบบและออกแบบกลไก (System Research & Mechanism Design) ทั้งการออกแบบโครงสร้างระบบ อววน. และการบริหารจัดการนโยบาย, ออกแบบระบบบริหารจัดการและการจัดสรรงบประมาณ รวมถึงออกแบบการระบบการติดตามประเมินผล
- รวมระบบข้อมูลสำหรับการกำหนดนโยบาย งบประมาณและการติดตามประเมินผล (Unify Data System for Policy Formulation, Budgeting & M&E) เพื่อให้ฐานข้อมูลเกิดการเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน
- ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการทำหน้าที่รับผิดชอบงานวิชาการและงานธุรการของสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ( NXPC Secretariat)