messenger icon
×
หน้าหลัก » ข่าวประชาสัมพันธ์ » สอวช. ร่วมกับพันธมิตรในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกสานต่อการขับเคลื่อนโครงการ “AI for Social Good: Strengthening Capabilities and Government Frameworks in Asia and the Pacific”

สอวช. ร่วมกับพันธมิตรในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกสานต่อการขับเคลื่อนโครงการ “AI for Social Good: Strengthening Capabilities and Government Frameworks in Asia and the Pacific”

วันที่เผยแพร่ 6 กันยายน 2022 977 Views

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2565 สอวช. เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพิจารณาการนำเสนอเค้าโครงงานวิจัยและสานต่อการขับเคลื่อนโครงการ “AI for Social Good: Strengthening Capabilities and Government Frameworks in Asia and the Pacific” ร่วมกับพันธมิตรในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific: UNESCAP) สมาคมมหาวิทยาลัยภาคพื้นแปซิฟิก (Association of Pacific Rim Universities: APRU) กูเกิล (Google.org) มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (Australian National University: ANU) และสถาบันการอุดมศึกษาและหน่วยงานวิจัยชั้นนำของไทยและต่างประเทศ

การประชุมมีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินโครงการฯร่วมกันระหว่างเครือข่ายพันธมิตรในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และพิจารณาการนำเสนอเค้าโครงงานวิจัยเกี่ยวกับนโยบายปัญญาประดิษฐ์ โดยมีทีมวิจัยที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 4 ทีม ได้แก่ ทีมของสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ จำนวน 2 ทีมในหัวข้อ 1) “AI in Pregnancy Monitoring: Technical Challenges for Bangladesh” และ 2) “Mobilizing AI for Maternal Health in Bangladesh” และทีมทของประเทศไทย จำนวน 2 ทีมในหัวข้อ 1) “Responsible Data Sharing, AI Innovation and Sandbox Development: Recommendations for Digital Health Governance in Thailand” และ 2) “Raising Awareness of the Importance of Data Sharing and Exchange to Advance Poverty Alleviation in Thailand”

ในโอกาสนี้ ดร.สุนทรี นามลิวัลย์ ผู้เชี่ยวชาญนโยบาย ฝ่ายนโยบายความร่วมมือระหว่างประเทศ เป็นผู้แทน สอวช. กล่าวถึงที่มาและความสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย และแนะนำสมาชิกฝ่ายไทยที่ร่วมดำเนินโครงการ ซึ่งประกอบด้วย สอวช. ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (เนคเทค สวทช.) และสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

จากนั้น ในช่วงการอภิปรายให้ความเห็นและข้อเสนอแนะ ผู้แทนฝ่ายไทย ได้แก่ ดร.คมเมธ จิตวานิชไพบูลย์ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายคาดการณ์อนาคต สอวช. และ ดร.สุทธิพงศ์ ธัชยพงษ์ นักวิจัยอาวุโส และหัวหน้าทีมวิจัยการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ เนคเทค สวทช. ได้ร่วมพิจารณาให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นสำคัญในบริบทของประเทศไทยในเรื่อง 1) นโยบายขจัดความยากจน 2) ระบบการแพทย์และสาธารณสุข และแนวทางการสัมภาษณ์เก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และ 3) พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และนโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ผู้ศึกษาวิจัยต้องพิจารณาคำนึงถึงในระหว่างกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อดำเนินการวิจัย รวมถึงได้ร่วมให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อเค้าโครงงานวิจัยใน 2 หัวข้อที่เกี่ยวกับประเทศไทย เพื่อให้มีความครอบคลุมสมบูรณ์และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อประเทศและภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกต่อไป

อนึ่ง โครงการ AI for Social Good: Strengthening Capabilities and Government Frameworks in Asia and the Pacific เป็นความร่วมมือระหว่าง UNESCAP และพันธมิตร ริเริ่มขึ้นเมื่อปี 2564 (ค.ศ. 2021) เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดย UNESCAP และ APRU ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก Google.org ได้พัฒนาเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเครือข่ายสนับสนุนผู้กำหนดนโยบาย เพื่อการพัฒนางานวิจัยและข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความสามารถและกรอบการกำกับดูแลที่จะสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์ปัญญาประดิษฐ์เพื่อสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ

สามารถติดตามและเข้าถึงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการฯ ได้ที่ https://www.apru.org/event/ai-for-social-good-strengthening-capabilities-and-government-frameworks-in-asia-and-the-pacific-informing-ai-policies-and-strategies-in-thailand/

เรื่องล่าสุด