บพท. ร่วมกับเครือข่าย มทร. ใช้ Appropriate technology ช่วยเหลือคนยากจนยกระดับฐานะทางสังคม (Social Mobility) อย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา หน่วยบริหารและจัดการทุนและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) โดย ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วย บพท. ให้เกียรติเข้าร่วมบรรยาย “ทิศทาง ความคาดหวังต่อกรอบวิจัย เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อสร้างโอกาสทางสังคม เพื่อขับเคลื่อนแผนงานขจัดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ โดยการเพิ่มโอกาสและยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่” ในการประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับพัฒนาแผนดำเนินงานโครงการวิจัย “การประยุกต์ใช้และขยายผลเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อสร้างขีดความสามารถและโอกาสทางสังคม สำหรับคนจนเป้าหมายในพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์” ณ ห้องประชุมโรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพ

งานนี้เกิดจากการที่ปัญหาความยากจนที่นับเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาทุนมนุษย์และคุณภาพชีวิตของประชาชน ดังนั้นการยุติความยากจนจึงเป็นวาระการพัฒนาหลักที่ประเทศไทยให้ความสำคัญ บพท. จึงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่และภาคีเครือข่ายที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและความยากจน ในพื้นที่เป้าหมาย 20 จังหวัด ที่มีการขับเคลื่อนให้ความสำคัญความแม่นยำของระบบฐานข้อมูล การเพิ่มโอกาสในพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตคนจนรายคนและรายครัวเรือนที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ การพัฒนาระบบการคุ้มครองทางสังคมเพื่อดูแล/จัดการปัญหาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า รวมถึงการปรับปรุงปัจจัยเชิงสถาบันให้เอื้อหรือสนับสนุนต่อการแก้ไขปัญหาความยากจนที่เบ็ดเสร็จและต่อเนื่อง จนสามารถพัฒนาแพลตฟอร์มการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำระดับจังหวัด (Provincial Poverty Alleviation Operating System: PPAOS) ที่เกิดกลไกความร่วมมือเพื่อขจัดปัญหาความยากจนระดับจังหวัด เกิดระบบค้นหาและสอบทานข้อมูลและระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับจังหวัด

ในปี 2566 จึงได้พัฒนากรอบการวิจัย “เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อสร้างโอกาสทางสังคม (Appropriate Technology for Social Mobility)” ภายใต้แผนงานวิจัยและนวัตกรรม “ขจัดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ” เพื่อขยายผลการดำเนินงานวิจัยในการยกระดับคุณภาพชีวิตและพัฒนาอาชีพในการเรียนรู้ รับ ปรับใช้ องค์ความรู้ เทคโนโลยีที่เหมาะสม ด้วยการประยุกต์ใช้และขยายผลเทคโนโลยีเหมาะสม (Appropriate Technology) ของเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) โดยได้กำหนดพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Research Areas : SRA) จำนวน 7 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด พัทลุง ปัตตานี และยะลา เพื่อนำไปใช้ในการช่วยเหลือคนจนกลุ่มเป้าหมายในระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับจังหวัด (Practical Poverty Provincial Connext : PPPConnext) ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ มีทักษะอาชีพและยกระดับรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงช่วยสนับสนุนด้านการผลิตของผู้ประกอบการในพื้นที่ (Local Business) ทำให้ห่วงโซ่การผลิตในชุมชนเติบโตขึ้น สร้างมูลค่าใหม่ในห่วงโซ่การผลิตให้แข็งแรง ซึ่งจะช่วยยกระดับความเป็นอยู่กลุ่มคนจนเป้าหมายเข้าถึงโอกาสในการยกระดับฐานะทางสังคม (Social Mobility) ให้หลุดพ้นจากความยากจนอย่างยั่งยืน ตามเป้าหมายของแผนพัฒนาประเทศต่อไป

สถิติการเข้าชม